ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์เป็นระบบที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (SIS) คือ ระบบสารสนเทศใด ๆ
ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือลดความเสียเปรียบให้กับองค์การ
ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงองค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศนำมาช่วยงานขององค์การให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
และการเปลี่ยนแปลงองค์การใน 4 ระดับ คือ
1. การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ (Automation) โดยองค์การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวก
รวดเร็ว ลดความผิดพลาดของข้อมูล หรือความผิดพลาดจากการคำนวณ
ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures) ระบบช่วยให้มองเห็นกระบวนการปฏิบัติงานที่ไม่คล่องตัวทำให้องค์การจำเป็นต้องปรับปรุงระเบียบปฏิบัติ (Standard Operating Procedures)
3. การออกแบบระบบงานใหม่ (Business Process Reengineering : BPR) เป็นการคิดใหม่ (Rethinking) และออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด (Radical Redesign) เป็นการปรับปรุงคุณภาพและการบริการให้ดีขึ้น
มีความรวดเร็วในการดำเนินงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายและสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว
ปรับลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก
4. การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts) การเปลี่ยนแปลงที่มีต่อทั้งองค์การไม่จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะบางส่วนขององค์การ
การเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับลูกค้า สินค้า บริการ
หรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยไม่ยึดกับกรอบแนวคิดเดิมๆ เช่น
บริษัทผลิตและจำหน่ายยา นำเอาระบบเกี่ยวกับคลังสินค้าที่เรียกว่า "Stockless Inventory" มาให้บริการลูกค้าที่เป็นสมาชิก เช่น โรงพยาบาล
ระบบนี้ช่วยให้สมาชิกไม่จำเป็นต้องสั่งยาและเครื่องเวชภัณฑ์มาเก็บสำรองไว้จำนวนมาก
สามารถสั่งซื้อผ่านเทอร์มินอลที่บริษัทฯ
นำมาติดตั้งไว้ให้และสามารถรับยาที่สั่งซื้อได้ทุกวันทำการ
ระดับของกลยุทธ์
กลยุทธ์ (Strategy) คือ
แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบ และจุดเด่นในด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์
และปรับจุดด้อย หรือเอาชนะข้อจำกัดที่มีอยู่เพื่อแสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงอุปสรรค
ทำให้องค์การสามารถอยู่รอด และเจริญเติบโตได้ในระยะยาว สามารถเอาชนะคู่แข่งขัน
อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด องค์การที่มีหน่วยธุรกิจหลายหน่วยจะมีกลยุทธ์อยู่ 3 ระดับ คือ
1. กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy) กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในระยะยาว เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) กำหนดโดยผู้บริหารหน่วยธุรกิจ (Business Unit Head) ให้ความสำคัญกับการแข่งขันของหน่วยธุรกิจ
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) กำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงานที่จำแนกตามหน้าที่ทางธุรกิจ
เช่น การเงิน การตลาด และทรัพยากรมนุษย์
เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับองค์การ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่อการแข่งขัน
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม รูปแบบของการดำเนินงาน
2. การใช้ไอทีช่วยให้มีการดำเนินงานที่ดีเหนือคู่แข่งขัน
ช่วยลดต้นทุนทำให้การดำเนินงานในองค์การมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เกิดความแตกต่างให้สินค้าและบริการ การสร้างนวัตกรรมใหม่
3. การใช้ไอทีในการสร้างธุรกิจใหม่ เช่น
การทำธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อและดาวน์โหลด
ผ่านอินเตอร์เน็ตได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น