การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มองภาพรวมอย่าง เป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อยๆ โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดย ทางตรงและโดยทางอ้อม
ทฤษฎีระบบ ( Systems Theory ) ให้แนวคิดว่าแต่ละสิ่งย่อมอยู่ในเอกภพ (The Universe) สิ่งเล็ก / ใหญ่เพียงใดล้วนเป็นหนึ่งหน่วยระบบมีวงจรของการทำงาน มีปัจจัยนำเข้า ( ปัจจัยการผลิต ) กระบวนการ มี ผลผลิต นำไปสู่ผลลัพธ์อย่าง เป็นระบบ ผลผลิตรวมย่อมเกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบ แต่ละหน่วย มีระบบการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ผลผลิตจะไหลจาก หน่วยการผลิต (กระบวนการ ) หนึ่งไปสู่อีกหน่วยการผลิต หรือกระบวนการ หนึ่งอย่างครบวงจร ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ละสิ่งในเอกภพมีความเป็นระบบตามมิติต่างๆ กัน ในเวลาเดียวกันการคิดเชิงระบบจึงเป็นการคิดที่มีความเข้าใจเชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐาน คนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ความสามารถใน การทำได้ดีในระดับที่แตกต่างกัน
การคิดระบบโดยทางตรงมุ่งกระทำโดยตรงมีเป้าหมายกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่จำแนก รูปแบบการคิดตามพื้นฐานของมนุษย์ แต่แยกรูปแบบการคิดโดยมุ่งที่เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ โดยจำแนกออกเป็น 3 แบบ
- การคิดเพื่อรู้เข้าใจหน่วยระบบ
- การคิดเพื่อวิเคราะห์และประเมินหน่วยของระบบ
- การคิดเพื่อออกแบบ และก่อตั้งหน่วยระบบ
การคิดระบบโดยทางอ้อม คือ การคิดเชิงระบบโดยอาศัยพื้นฐานแห่งการคิด เช่น การวิเคราะห์ การอุปมา อุปมัย การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การประเมินค่า ฯลฯ
การคิดเชิงระบบโดยทางอ้อม การคิดเป็นพฤติกรรมทางสมองที่สมองกระทำกับวัตถุความคิด (Object of thinking) ซึ่งเรียกว่า มโนมติ (Concept) มโนมติของคนเราอาจมีหลายมติ ซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์ และการคิดขึ้นเองจากโลกแห่งความ เป็นจริง หรือจินตนาการจากโลกมายาก็ได้
การคิดที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์มีหลายรูปแบบการคิดเชิงระบบเป็นวิธีการคิดเชิงบูรณาการเป็นการขยายขอบเขตการคิดของเราที่มีต่อเรื่องนั้นๆ ออกไป โดยไม่ด่วนสรุปหรือตัดสินใจ แต่พิจารณาเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกมุมมอง เปิดโอกาสให้ความคิดของคนเราได้มีการเชื่อมโยง เพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ได้มุมมองใหม่ๆ เห็นแนวทางแก้ปัญหาที่ดีกว่าสร้างสรรค์ รวมทั้งให้เห็นความสัมพันธ์แบบเชื่อมโยงระหว่างเรื่องนั้น กับปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
การคิดเชิงระบบกับการพัฒนาองค์กร องค์กรที่มีประสิทธิภาพ ต้องนำระบบการคิดเชิงระบบมาจัดการระบบต่างๆ ในองค์กรให้สอดคล้อง สัมพันธ์กัน องค์กรประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่เชื่อมสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ทั้งหมดรวมเป็นหนึ่ง เดียวกัน การคิดเชิงระบบจะไม่มองเฉพาะฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายพัฒนาองค์กร ฝ่ายขาย ฝ่ายวิศวกรรม หรือ ฝ่ายบัญชี ถ้าเรายังเราคิดเชิงระบบไม่เป็นเราจะมองว่า ฝ่ายผลิตคือองค์กร ฝ่ายบุคคล ฝ่ายขาย คือองค์กร เมื่อ เกิดปัญหาขึ้นเราก็จะแก้ปัญหาที่จุดนั้นหรือมองเฉพาะส่วนที่คิดว่าเป็นปัญหา แล้วแก้เฉพาะส่วนนั้น และคิดว่า ได้ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เรียบร้อยแล้ว โดย มองว่านั่นคือการแก้ปัญหา ของ องค์กร การคิดเชิงระบบที่แท้จริ ง เราจะมองเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น ว่า เกิดจากองค์กร แต่ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ปัญหาทุกอย่าง มีความ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้
องค์กรแห่งการเรียนรู้และความคิดเชิงระบบ
ในการที่ส่วนราชการจะเข้าสู่ การเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดย ที่บุคลากรภายในห น่วยงานสามารถ พัฒนาความสามารถทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่จุดมุ่ งหมายที่ บุคลากรระดับต่างๆ ต้องการอย่างแท้จริง ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติ 5 ประการ คือ
- การคิดเชิงระบบ (System Thinking) คือ คนในส่วนราชกา รสามารถมองเห็นวิธีคิดและภาษาที่ใช้ อธิบายพฤติกรรมความเป็นไปต่างๆ ถึงความเชื่อมโยงต่อเนื่องของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ ผูกโยงกันเป็นระบบ เป็นเครือข่ายด้วยสภาวะการพึ่งพาอาศัยกัน สามารถมองปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นวัฎจักรโดย นำมาบูรณาการเป็นความ รู้ใหม่ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้อย่างมีประสิทธิผลสอดคล้องกับความเป็นไป ในโลกแห่งความจริง
- แบบแผนความคิด (Mental Model) คือ การตระหนักถึงกรอบแนวคิดของตนเอง รูปแบบความคิด ความเชื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจและการกระทำของตน และพยายามพัฒนารูปแบบ ความคิดความเชื่อให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถที่จะบริหารปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของตน ได้
- การสร้างพลังแห่งตน (Personal Mastery) คือ การส่งเสริมให้คนในองค์กรสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง โดยการจัดทำกลไกต่างๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกของคนในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจ เป็นโครงสร้างหน่วยงาน ระบบสารสนเทศ ระบบการพัฒนาบุคคล หรือแม้แต่ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานประจำวัน
- การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) คือ การกำหนดกรอบความคิดเกี่ยว กับสภาพในอนาคต ของหน่วยงานที่ทุกคนในหน่วยงาน มีความปรารถนาร่วมกัน ช่วยกันสร้างภาพอนาคตของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ริเริ่มทดลองสิ่งใหม่ๆ ของคนในหน่วยงาน และให้การทำงานเป็นไปในทิศทาง หรือกรอบแนวทางที่มุ่ง ไปสู่จุดเดียวกัน
- การเรียนรู้ร่วมเป็ นทีม (Team Learning) คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และทักษะวิธีคิด เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของทีมงาน รวมทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นทีมด้วย ซึ่งการเรียนรู้และพัฒนาในเรื่องนี้ จะช่วยให้การทำงานร่วมกันในหน่วยงาน มีความเป็นทีมที่ดีขึ้ น ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกแต่ ละคนสามารถแสดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาได้อย่างเต็มที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น